Week4

เป้าหมายรายสัปดาห์  : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น การเกิดฝน การเกิดรุ้งกินน้ำ น้ำขึ้น น้ำลง ได้
Week
lnput
Process
Output
Outcome
4
1-5
 ..
59
โจทย์ :
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
- การเกิดฝน
- การเกิดรุ้งกินน้ำ
- น้ำขึ้น น้ำลง
Key  Questions
- วัฏจักรของน้ำเกิดขึ้นได้ย่างไร?
- รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมรุ้งกินน้ำถึงมี 7 สี มีสีอะไรบ้าง?
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฏจักรของน้ำและการเกิดรุ้ง
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรุ้งกินน้ำ
Think  Pair Share :
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง
Wall  Thinking : แผนผังการเกิดฝน
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- คลิปวีดีโอ “การเกิดหยดฝน”
- นิทานเรื่อง “นกน้อยแกะรอยน้ำฝน
- เพลง “ รุ้งกินน้ำ”
- อุปกรณ์ในการทดลอง เช่น แก้ว น้ำ สบู่ ก้านมะละกอ แวนขยาย ฯลฯ
- เรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ น้ำขึ้น น้ำลง
-อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร

วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูเล่านิทานเรื่อง “นกน้อยแกะรอยน้ำฝน”เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรของน้ำ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร?
 “รู้สึกอย่างไร?” “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังจากนิทาน
 ใช้ : นักเรียนประดิษฐ์ก้อนเมฆจากใยสังเคราะห์
วันอังคาร ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ทดลองการเกิดฝน เช่น กระทะไฟฟ้า น้ำ แว่นขยาย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าไอน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำจากการทดลอง
ใช้ : นักเรียนทำแผนผังการเกิดฝน
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “การเกิดหยดฝน”
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรรู้สึกอย่างไร?” วัฏจักรของน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
ใช้ : นักเรียนปั้นดินน้ำมันวัฏจักรของน้ำ


วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลง “ไข่”
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด”ไข่สามารถนำไปประกอบอาหารอะไรได้บ้าง
-ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไข่ไก่ 5 ฟอง ปูอัด แฮมต้นหอม แครอท 
- ครูและนักเรียนร่วมกันประกอบอาหารพิชซ่าไข่ร่วมกัน
-ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตว่าไข่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรอะไรบ้าง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนร่วมกันประกอบอาหารเมนู “พิชซ่าไข่”
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง )
ชง :
ครูเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ น้ำขึ้น น้ำลง
พร้อมวาดภาพประกอบให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ปรากฏการณ์ น้ำขึ้น น้ำลง เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่ได้ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
-นำเสนอชิ้นงาน

ภาระงาน
-พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำและจากการฟังนิทานและดูคลิปวีดีโอ
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฏจักรของน้ำและการเกิดรุ้ง
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองการเกิดไอน้ำและฟองสบู่
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบจากน้ำ
ชิ้นงาน
-ประดิษฐ์ก้อนเมฆจากใยสังเคราะห์
-แผนผังการเกิดฝน


 ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น การเกิดฝน การเกิดรุ้งกินน้ำ น้ำขึ้น น้ำลง ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ

ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



บันทึกหลังการสอน

             สัปดาห์ที่ 4 เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ  (การเกิดฝน, การเกิดรุ้งกินน้ำ, น้ำขึ้น น้ำลง)คุณครูได้พาเด็กๆ ทดลองการเกิดฝน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าไอน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?
วันใหม่: เกิดมาจากน้ำร้อนค่ะ
อ๋อมแอ๋ม : น้ำลอยขึ้นมารวมตัวกันเป็นก้อนเมฆแล้วก็เกิดเป็นฝนค่ะ
หนูดี: น้ำมารวมตัวกันค่ะ
กาแฟ : น้ำมาเกาะกันเป็นก้อนแล้วก็เป็นพี่หยดน้ำครับ
 วันต่อมาคุณครูให้เด็กๆ ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับ “การเกิดหยดฝน” เมื่อครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ฝนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?” นักเรียนทุกคนสามารถอธิบายได้ว่าฝนเกิดขึ้นจากน้ำที่ระเหยไปบนอากาศแล้วทำให้เกิดเป็นก้อนเมฆ เมื่อก้อนเมฆรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ๆ เลยทำให้ฝนตกลงมา หลังจากนั้นครูเชื่อมโยงเข้าสู่การเกิดรุ้งกินน้ำโดยครูทดลองการฉีดน้ำขึ้นไปบนอากาศแล้วให้นักเรียนสังเกต พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “สายรุ้งเกิดมาได้อย่างไร?”
น็อต: เกิดจากละอองน้ำกระทบกับแสงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำครับ
แสตมป์ : เกิดจากฝนตกลงมาครับ
ไดมอนด์: ถ้าเราอยากเห็นรุ้งกินน้ำเราต้องหันหลังให้กับพระอาทิตย์ครับ
สาว: หลังฝนตกก็จะมองเห็นสายรุ้งค่ะ       
         ต่อมาครูเชื่อมโยงสู่ปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่น น้ำขึ้น – น้ำลง โดยครูเล่าเรื่องราวให้เด็กฟัง และตลอดทั้งสัปดาห์เด็กๆ สนุกสนานและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งได้ทำชิ้นงาน ประดิษฐ์ก้อนเมฆจากใยสังเคราะห์  แผนผังการเกิดฝน  ปั้นดินน้ำมันวัฏจักรของน้ำ เด็กๆ สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดีมากค่ะ

ภาพประกอบกิจกรรม

วันจันทร์









วันอังคาร
















วันพุธ










วันพฤหัส




















ชิ้นงาน



























1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 4 เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ (การเกิดฝน, การเกิดรุ้งกินน้ำ, น้ำขึ้น น้ำลง)คุณครูได้พาเด็กๆ ทดลองการเกิดฝน ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าไอน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    วันใหม่: เกิดมาจากน้ำร้อนค่ะ
    อ๋อมแอ๋ม : น้ำลอยขึ้นมารวมตัวกันเป็นก้อนเมฆแล้วก็เกิดเป็นฝนค่ะ
    หนูดี: น้ำมารวมตัวกันค่ะ
    กาแฟ : น้ำมาเกาะกันเป็นก้อนแล้วก็เป็นพี่หยดน้ำครับ
    วันต่อมาคุณครูให้เด็กๆ ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับ “การเกิดหยดฝน” เมื่อครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ฝนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?” นักเรียนทุกคนสามารถอธิบายได้ว่าฝนเกิดขึ้นจากน้ำที่ระเหยไปบนอากาศแล้วทำให้เกิดเป็นก้อนเมฆ เมื่อก้อนเมฆรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ๆ เลยทำให้ฝนตกลงมา หลังจากนั้นครูเชื่อมโยงเข้าสู่การเกิดรุ้งกินน้ำโดยครูทดลองการฉีดน้ำขึ้นไปบนอากาศแล้วให้นักเรียนสังเกต พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “สายรุ้งเกิดมาได้อย่างไร?”
    น็อต: เกิดจากละอองน้ำกระทบกับแสงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำครับ
    แสตมป์ : เกิดจากฝนตกลงมาครับ
    ไดมอนด์: ถ้าเราอยากเห็นรุ้งกินน้ำเราต้องหันหลังให้กับพระอาทิตย์ครับ
    สาว: หลังฝนตกก็จะมองเห็นสายรุ้งค่ะ
    ต่อมาครูเชื่อมโยงสู่ปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่น น้ำขึ้น – น้ำลง โดยครูเล่าเรื่องราวให้เด็กฟัง และตลอดทั้งสัปดาห์เด็กๆ สนุกสนานและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งได้ทำชิ้นงาน ประดิษฐ์ก้อนเมฆจากใยสังเคราะห์ แผนผังการเกิดฝน ปั้นดินน้ำมันวัฏจักรของน้ำ เด็กๆ สามารถทำออกมาได้เป็นอย่างดีมากค่ะ

    ตอบลบ